บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันนี้เป็นกลุ่มของดิฉันที่ต้องทำการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่องแสนสีและลวดลายพิศวงศ์
สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
สีแดงและสีเขียวเป็นสีตรงกันข้าม
และเป็นคู่สีที่มีสมบัติเหมาะสำหรับนำมาใช้ประดิษฐ์แว่นสามมิติ เมื่อเราสวมแว่นสามมิติภาพที่เห็นจึงดูเหมือนกำลังเคลื่อนไหวอยู่
ภาพรวมการทดลอง
เมื่อนำแผ่นใสสีแดงและสีเขียววางไว้บนภาพที่เด็กๆวาดด้วยสีดำ
แดง และเขียว แล้วขยับแผ่นใสขึ้นลงหรือขยับไปทางซ้ายและขวา
ภาพที่เด็กๆวาดจะดูเหมือนเคลื่อนไหวได้
วัสดุอุปกรณ์
·
แผ่นใสสีแดงและสีเขียว
·
เทปกาว
·
กรรไกร
·
ปากกาเคมีหรือดินสอสีแดงและสีเขียว
สำหรับเด็กแต่ละคน
·
กระดาษสีขาว 1 แผ่น
สรุปแนวคิด
แผ่นกรองแสงสีต่างๆจะดูดกลืนแสงสีบางส่วนไว้
เมื่อเรามองภาพที่มีสีสันผ่านแผ่นกรองแสงจะทำให้เราเห็นสีต่างๆเปลี่ยนไป
เริ่มต้นจาก
·
ก่อนการทดลอง ให้เด็กๆทดสอบเปรียบเทียบสีของปากกาเคมีและแผ่นใสที่ใช้ให้กลมกลืน
·
ลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีแดง เมื่อวางแผ่นใสสีแดงทาบลงไป
จะต้องมองไม่เห็นเส้นสีแดง
แต่เมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียวจะต้องเห็นเส้นสีแดงได้ชัดเจน
·
จากนั้นลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีเขียว เมื่อวางแผ่นใสสีเขียวทาบลงไป
เราจะมองไม่เห็นเส้นสีเขียว แต่จะมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีแดง
ถ้าหาปากกาเคมีสีเขียวที่กลมกลืนกับแผ่นใสสีเขียวไม่ได้
อาจใช้แค่ปากกาเคมีสีแดงสีเดียวก็ได้
·
ตัดแผ่นใสสีแดงและสีเขียวให้มีขนาดเท่ากับไปรษณียบัตรวางแผ่นใสสีแดงและสีเขียวชิดกัน
ติดด้วยเทปกาวใส ตัดทั้งสี่มุมให้มน
ทดลองต่อไป
·
วาดภาพง่ายๆด้วยปากกาเคมีสีดำ เช่น รูปใบหน้าคน ลงบนกระดาษสีขาว
ภาพที่วาดไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่าแผ่นใสสีเขียวแดงที่เตรียมไว้
·
ใช้ปากกาเคมีสีแดงเติมรายละเอียดลงไปในภาพ เช่น แลบลิ้น เป็นต้น
·
นำแผ่นใสสีเขียว แดง ที่ทำไว้มาวางบนภาพ และเลื่อนไปมาในแนวตั้งหรือแนวนอน
·
ให้เด็กๆอธิบายว่าสังเกตเห็นอะไร
·
วาดภาพแบบอื่นๆด้วยปากกาเคมีสีดำ
เติมรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวไปมาด้วยปากกาเคมีสีแดง เช่น
-
เทียนสีดำกับเปลวไฟสีแดง
-
หมวกสีดำกับกระต่ายสีแดง
-
มังกรสีดำกำลังพ่นไฟสีแดง
·
อาจใช้ปากกาเคมีสีเขียววาดรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวได้เช่นกัน
เกิดอะไรขึ้น
เราสามารถมองเห็นลายเส้นภาพที่เป็นสีดำผ่านแผ่นใสทั้งสองสี
แต่เมื่อมองผ่านแผ่นใสสีแดงเราจะมองไม่เห็นรายละเอียดของภาพที่เป็นสีแดง
และถ้ามองผ่านแผ่นใสสีเขียว จะเห็นรายละเอียดของภาพเป็นสีดำ
เมื่อเลื่อนพลาสติกทั้งสองสีผ่านภาพวาดไปมาอย่างรวดเร็ว
จะเห็นใบหน้าคนแลบลิ้นและยิ้มสลับกัน
หรือเห็นกระต่ายโผล่ออกจากหมวกและหายไปสลับกัน
ถ้าเราใช้ปากกาเคมีสีเขียววาดรายละเอียดภาพ
จะสังเกตเห็นภาพเคลื่อนไหวผ่านแผ่นใสสีแดงเท่านั้น
แต่จะมองไม่เห็นภาพเคลื่อนไหวเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียว
คำแนะนำ
เมื่อเด็กๆเข้าใจหลักการของภาพเคลื่อนไหวแล้ว
ให้ทำการทดลองเพิ่มเติม
โดยให้เด็กๆวาดภาพด้วยปากกาเคมีสีดำและวาดรายละเอียดด้วยปากกาเคมีสีแดงและสีเขียว
เช่น
· วาดปากด้วยสีดำ วาดลิ้นสีแดงและลิ้นสีเขียว
· วาดต้นไม้ด้วยสีดำ วาดใบสีเขียวและสีแดง
· วาดใบหน้าด้วยสีดำ วาดผมหยิกสีแดงและผมตั้งสีเขียว
· วาดตัวผู้ชายด้วยสีดำวาดหมวกปลายแหลมให้เอียงไปทางซ้ายสีเขียว
และเอียงไปทางขวาสีแดง
· วาดใบหน้าด้วยสีดำ วาดรอยยิ้มสีแดงและร้องไห้สีเขียว
· วาดไฟจราจรด้วยสีดำ วาดสัญญาณไฟเขียวและสัญญาณไฟแดง
จากนั้นเลื่อนแผ่นใสสีเขียวแดงไปทางแนวนอนหรือแนวตั้ง
ลองทำการทดลองโดยใช้ปากกาสีและแผ่นใสสีอื่น สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
ทำไมเป็นเช่นนั้น
เรามองเห็นภาพที่วาดด้วยปากกาเคมีสีดำผ่านแผนใสทั้งสองสี
แต่รายละเอียดของภาพที่ใช้แสดงการเคลื่อนไหวต้องวาดด้วยสีแดงหรือสีเขียวเท่านั้น
เราไม่สามารถสร้างการเคลื่อนไหวจากสีทั้งสองสีพร้อมกันได้
เมื่อวางแผ่นใสสีแดงลงบนกระดาษสีขาว
จะเห็นกระดาษเป็นสีแดงถ้าวาดภาพบนกระดาษสีแดงด้วยปากกาเคมีสีแดงจะเห็นเหมือนกับว่าใช้ปากกาเคมีสีแดงวาดรูปลงบนกระดาษสีแดง
สีของภาพและกระดาษเหมือนกันเราจึงมองไม่เห็นภาพที่วาด
ซึ่งจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับแผ่นใสสีเขียวและปากกาเคมีสีเขียว
จากการทดลองเรื่อง
“โลกของสีสัน และลวดลายพิศวง” แผ่นกรองแสงจะดูดกลืนแสงสีบางส่วนไว้
โดยแผ่นกรองแสงสีแดงจะดูดกลืนแสงสีเขียว
ทำให้เรามองเห็นสีเขียวเป็นสีดำเพราะไม่มีแสงสะท้อนกลับเข้าสู่ดวงตาของเรา
แผ่นใสสีเขียวดูดกลืนแสงที่สะท้อนมาจากสีแดง
ดังนั้นเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียว เราจึงเห็นสีแดงเป็นสีดำ
สีแดงและสีเขียวเหมาะสำหรับศึกษาเรื่องการมองเห็นสี
เพราะเป็นสีตรงกันข้าม เนื่องจากส่วนผสมของสีแดงและสีเขียวไม่มีส่วนที่เหมือนกัน