หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรวมกัน เนื่องจากว่าสัปดาห์หน้าอาจารย์ติดราชการทำให้ไม่สามารถมาสอนได้ ด้วยความเป็นห่วงที่กลัวว่านักศึกษาจะเรียนไม่ทัน จึงนัดให้มาเรียนในครั้งนี้พร้อมกันทั้งสองเซค ซึ่งเนื้อหาในวันนี้คือ การนำหัวข้อที่อาจารย์ให้ไปศึกษาค้นคว้า ได้แก่ อากาศ ลม ดิน เครื่องกล ว่ามีประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่ ต้องการจะจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย โดยกลุ่มของดิฉันนั้นได้รับมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้า เรื่องของ อากาศ มีประเด็นสำคัญดังนี้

อากาศ

     เกิดจากส่วนผสมต่างๆ ของ ก๊าซและไอน้ำ ได้แก่ ก๊าซ ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน
   คุณสมบัติ   
          1) อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
          2) มีน้ำหนัก
          3) ต้องการที่อยู่
          4) เคลื่อนที่ได้

  ความสำคัญ 
          1) มีความจำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
          2) ช่วยปรับอุณหภูมิโลก
          3) ทำให้เกิดลมและฝน
          4) มีผลต่อการดำรงชีวิตต่อสภาพจิตใจและร่างกายของมนุษย์
  
  อากาศเป็นพิษเกิดจาก 
          1) ภูเขาไฟระเบิด
          2) เกิดจากการกระทำมนุษย์ เช่น การเผาไหม้ เผาป่า ควันรถ การเผาขยะ 
          3) โรงงานอุตสาหกรรม
   
  การดูแลรักษา 
          1) งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดควัน
          2) ปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ช่วยกันอนุรักษ์
  
  จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นำเสนอ สื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย กลุ่มของดิฉันก็ได้เลือกสื่อเพื่อนำมาประยุกต์เป็นสื่อของตัวเองดังนี้


1.ตุ๊กตาลมคืนชีพ


2.เครื่องดูดจอมกวน


3.รถพลังลม


4.โฮเวอร์คราฟลูกโป่ง


คำศัพท์

1.Air                        อากาศ
2.Learning media    สื่อการเรียนรู้
3.Research               ศึกษาค้นคว้า
4.Knowledge           ความรู้
5.Conservation        การอนุรักษ์

ประเมินอาจารย์
อาจารย์คอยเพิ่มเติมให้ในส่วนของเนื้อหาที่นักศึกษาค้นคว้ามา และคอยให้คำแนะนำตามกลุ่มที่มีข้อสงสัยหรือต้องการศึกษา ทั้งยังแนะนำให้นักศึกษาไปชมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในวิชาเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทั้งสองเซคให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และมีการปรึกษาในส่วนของสื่อการเรียนรู้เพื่อไม่ให้ซ้ำกัน และช่วยกันระดมความคิดในเรื่องที่กลุ่มของตนได้รับมอบหมาย

ประเมินตนเอง
มีความพยายามในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาถ่ายทอดว่า กลุ่มของตนได้ข้อมูลอะไรมาบ้าง และพยายามนำคำแนะนำที่อาจารย์แนะนำมาปรับใช้ในกลุ่ม
     



วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
       ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา เข้าร่วมกับโปรแกรมหนึ่งที่มีไว้สำหรับเช็คชื่อและส่งงาน  (Padlet) จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้แบ่งกลุ่มแล้วเข้าไปเชื่อมต่อกับ Padlet โดยการเขียนชื่อสมาชิกในกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ได้มีการตั้งคำถามว่า ในรายวิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กนั้น นักศึกษาคิดว่าเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง  อาจารย์ให้เวลาในการคิด โดยที่ยังไม่ต้อง เปิดดูแหล่งให้ข้อมูล เมื่อคิดได้แล้วก็ให้โพสต์ลงกลุ่ม คำตอบของเพื่อนๆก็ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะทุกคนต่างคิดว่า วิทยาศาสตร์ ควรเรียนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต



ต่อมา อาจารย์ได้ฝึกให้นักศึกษา เบรน สมอง ด้วยการทำท่าไข่พะโล้ ประกอบเพลงช้าง ทำเป็นจังหวะโดยกำหนดให้รอบแรก มือซ้ายกำ มือขวาแบ รอบสองมือซ้ายแบ มือขวากำ จากนั้นอาจารย์ให้เปลี่ยนท่า ในระดับที่ยากขึ้นมาอีก คือท่าที่มือขวากำแล้วมือซ้ายวางบน  ต่อไปมือขวาแบแล้วมือซ้ายกำวางไว้ข้างบนมือขวา  และสุดท้ายคือมือซ้ายกำแล้วมือขวาวางบน จากนั้นอาจารย์บอกว่าให้ทำ1ชุด เราจะงงมากว่า 1ชุดคืออะไร แต่ถ้าเราลองทำท่าที่อาจารย์บอก ก็จะทราบเองว่าหนึ่งชุดมี่กี่ท่า ซึ่งวิธีการแบบนี้เราเรียกว่า อนุกรม วิธีการนี้เราสามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยได้ ด้วยวิธีการสอนแบบนี้จะสังเกตได้ว่า อาจารย์จะสอนจากท่าง่าย ไปท่ายาก นั่นเป็นเพราะว่า เวลาที่เราไปจัดประสบการณ์นั้นถ้าอยู่ๆบอกให้เด็กปรบมือ หรือทำท่าอะไรขึ้นมาเลย มันจะเป็นการทำร้ายเด็กเพราะมันไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กนั่นก็คือ การเล่น เพราะเช่นนี้เองเมื่อเด็กได้เล่น ก็จะทำให้เกิดการซึมซับ รับรู้  ปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่

คำศัพท์
1. absorb   ซึมซับ
2.Learning  การเรียนรู้
3.Behavior change  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4.sensory motor    ประสาทสัมผัส
5.ego sentric      ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง

ประเมินอาจารย์
  อาจารย์พยายามจะทวนความจำเกี่ยวกับคำที่ คนเป็นครูปฐมวัยควรจำเเละควรรู้เพราะการเป็นครูปฐมวัยมีอะไรมากกว่าการเลี้ยงเด็ก อาจารย์เป็นห่วงว่านักศึกษาจะจำไม่ได้จึงน้ำอยู่เสมอจนกว่านักศึกษาจะจำได้และตอบที่อาจารย์ถามได้

ประเมินเพื่อน
พื่อนพยายามช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนแม้จะทำผิดทำถูกก็สนุกสนานแลกลับไปให้ทบทวนตัวเอง

 ประเมินตัวเอง
ในการเรียนวันนี้ทำให้ได้แง่คิดว่าควรจริงจังและตั้งใจในการที่จะเป็นครูให้มากกว่านี้ และต้องเก็บเกี่ยวเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่อาจารย์ให้ให้ได้มากที่สุด




วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปบทความ เรื่องแนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล

 วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ
ถ้าเด็กๆ เรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม
ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?  
         คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่ แท้ จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย 
        ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาลกล่าวว่า “เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้”   
Description: http://www.wattanasatitschool.com/template/lib_images/lazy.gif

ทั้งนี้การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าเพื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 
      ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ” “สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้” 
    นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก” อันประกอบแนวทางปฏิบัติ ข้อดังนี้ สำหรับ ข้อ นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน “วิทยาศาสตร์“ ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ



สรุปงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน

ผู้จัดทำวิจัย สิทธิพร รอดฉัยยา   นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร                                                            และการสอน    มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

วัตถุประสงค์การวิจัย       เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน

ผลการวิจัยชุดกิจกรรมตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน เป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้จัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถทำให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้น และยังสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของตนและสิ่งแวดล้อม เริ่มจากง่ายไปหายาก ทำให้เด็กเกิดการกระตือรือร้น ส่งผลให้นักเรียนเกิดการพัฒนาสมองอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของนักเรียนสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับสูงต่อไป

อ้างอิง                  http://jes.rtu.ac.th/rtunc2017/pdf/Poster%20Presentation/Poster%20กลุ่ม%204%20ศึกษาศาสตร์/PED_108_FULL.pdf



สรุปสื่อและตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สื่อรถพลังลม

อุปกรณ์
- ลูกโป่ง
- ขวดน้ำ
- ฝาขวดน้ำ
- เชือก
- หลอด
- แล็กซีน
- ที่เจาะรู
                                                         - กระดาษสี

วิธีทำ
1. ตัดขวดพลาสติก เจาะรู ร้อยเชือก ใส่ล้อ 4 ล้อ 
2. เสียบหลอดเข้าไปในลูกโป่ง  แปะแล็กซีนเพื่อยึดหลอดกับรถ
3. เป่าลูกโป่ง แล้วนำไปเสียบกับหลอด
4. ปล่อยอากาศออกจากลูกโป่ง

ประโยชน์
1. เด็กเกิดการเรียนรู้การเคลื่อนที่โดยใช้แรงลม
2.เด็กได้สังเกตทิศทางที่รถเคลื่อนที่จากการที่ลมถูกปล่อยออกจากลูกโป่ง



ตัวอย่างการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่องการหักเหของน้ำ


คุณครูนุชจิรา จัดประสบการณ์ให้เด็กเรื่องการหักเหของน้ำ โดยใช้ลูกโป่ง ไม้บรรทัด และช้อนพลาสติก ถูไปมาเพื่อให้เกิดไฟฟ้าสถิต เมื่อเด็กๆถูจนเกิดความร้อน แล้วคุณครูจึงนำขวดน้ำที่เจาะรูมาบีบ แล้วนำลูกโป่ง ไม้บรรทัด ที่เกิดความร้อนมาอยู่ใกล้น้ำ ทำให้ น้ำเกิดการเปลี่ยนทิศทางไปตามวัตถุที่มีความร้อนมาอยู่ใกล้ แต่น้ำไม่เปลี่ยนทิศทาง เมื่อนำช้อนพลาสติกมาอยู๋ใกล้เนื่องจากไม่มีความร้อน

ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ คือ การทำให้วัตถุเกิดความร้อนเมื่อสัมผัสไปมาเป็นเวลานาน และการเปลี่ยนทิศทางของน้ำเนื่องจากการหักเหซึ่งเกิดจากความร้อนของวัตถุที่มาอยู่ใกล้





วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1
 ในคาบแรกของรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากกลับต่างจังหวัด แต่ก็ได้สอบถามจากเพื่อนๆว่าอาจารย์สอนเกี่ยวกับอะไรและมอบหมายงานอะไรบ้าง เพื่อนก็แจ้งให้ทราบว่า ในรายวิชานี้ต้องมีการทำบล็อก ไว้สะสมผลงานและบันทึกการเรียนรู้และอธิบายเรื่องที่จะเรียนในรายวิชานี้

ความรู้ที่ได้รับ
 เรื่องการเตรียมตัว และตื่นตัวพร้อมรับความรู้ใหม่

คำศัพท์
1 Science        วิทยาศาสตร์                                    
2 understand   เข้าใจ
3 completely   ครบถ้วน
4 recommend  แนะนำ
5 educate        ให้ความรู้

ประเมินอาจารย์
 ตั้งแต่ปี 1จนถึง ปี3สิ่งหนึ่งที่อาจารย์ไม่เปลี่ยนคือการเอาใจใส่เด็ก และให้ความสำคัญกับเวลา

ประเมินเพื่อน
แม้เพื่อนๆจะมากันน้อย แต่เพื่อนที่มาก็พยายามรับข้อมูลและนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนที่ไม่มาได้ครบถ้วน

ประเมินตนเอง
 ถึงแม้ดิฉันจะไม่ได้มาเรียนแต่ก็สนใจที่จะติดต่อสอบถามภาระงานเกี่ยวกับรายวิชากับเพื่อนที่มาเรียนเพราะกลัวจะไม่ทันเพื่อน