วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานประดิษฐ์ของเล่นกลุ่มและเดี่ยว


















บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

อาจารย์แจ้งเรื่องการประดิษฐ์ของเล่นกลุ่ม และของเล่นเดี่ยว ให้นักศึกษาไปจัดทำและสัปดาห์หน้านำเสนอ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันนี้เป็นกลุ่มของดิฉันที่ต้องทำการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่องแสนสีและลวดลายพิศวงศ์

สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
            สีแดงและสีเขียวเป็นสีตรงกันข้าม และเป็นคู่สีที่มีสมบัติเหมาะสำหรับนำมาใช้ประดิษฐ์แว่นสามมิติ เมื่อเราสวมแว่นสามมิติภาพที่เห็นจึงดูเหมือนกำลังเคลื่อนไหวอยู่
ภาพรวมการทดลอง
                เมื่อนำแผ่นใสสีแดงและสีเขียววางไว้บนภาพที่เด็กๆวาดด้วยสีดำ แดง และเขียว แล้วขยับแผ่นใสขึ้นลงหรือขยับไปทางซ้ายและขวา ภาพที่เด็กๆวาดจะดูเหมือนเคลื่อนไหวได้
วัสดุอุปกรณ์
·       แผ่นใสสีแดงและสีเขียว
·       เทปกาว
·       กรรไกร
·       ปากกาเคมีหรือดินสอสีแดงและสีเขียว
สำหรับเด็กแต่ละคน
·       กระดาษสีขาว 1 แผ่น

สรุปแนวคิด
                แผ่นกรองแสงสีต่างๆจะดูดกลืนแสงสีบางส่วนไว้ เมื่อเรามองภาพที่มีสีสันผ่านแผ่นกรองแสงจะทำให้เราเห็นสีต่างๆเปลี่ยนไป
เริ่มต้นจาก
·       ก่อนการทดลอง ให้เด็กๆทดสอบเปรียบเทียบสีของปากกาเคมีและแผ่นใสที่ใช้ให้กลมกลืน
·       ลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีแดง เมื่อวางแผ่นใสสีแดงทาบลงไป จะต้องมองไม่เห็นเส้นสีแดง แต่เมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียวจะต้องเห็นเส้นสีแดงได้ชัดเจน
·       จากนั้นลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีเขียว เมื่อวางแผ่นใสสีเขียวทาบลงไป เราจะมองไม่เห็นเส้นสีเขียว แต่จะมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีแดง ถ้าหาปากกาเคมีสีเขียวที่กลมกลืนกับแผ่นใสสีเขียวไม่ได้ อาจใช้แค่ปากกาเคมีสีแดงสีเดียวก็ได้
·       ตัดแผ่นใสสีแดงและสีเขียวให้มีขนาดเท่ากับไปรษณียบัตรวางแผ่นใสสีแดงและสีเขียวชิดกัน ติดด้วยเทปกาวใส ตัดทั้งสี่มุมให้มน


ทดลองต่อไป
·       วาดภาพง่ายๆด้วยปากกาเคมีสีดำ เช่น รูปใบหน้าคน ลงบนกระดาษสีขาว ภาพที่วาดไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่าแผ่นใสสีเขียวแดงที่เตรียมไว้
·       ใช้ปากกาเคมีสีแดงเติมรายละเอียดลงไปในภาพ เช่น แลบลิ้น เป็นต้น
·       นำแผ่นใสสีเขียว แดง ที่ทำไว้มาวางบนภาพ และเลื่อนไปมาในแนวตั้งหรือแนวนอน
·       ให้เด็กๆอธิบายว่าสังเกตเห็นอะไร
·       วาดภาพแบบอื่นๆด้วยปากกาเคมีสีดำ เติมรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวไปมาด้วยปากกาเคมีสีแดง เช่น
-                   เทียนสีดำกับเปลวไฟสีแดง
-                   หมวกสีดำกับกระต่ายสีแดง
-                   มังกรสีดำกำลังพ่นไฟสีแดง
·       อาจใช้ปากกาเคมีสีเขียววาดรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวได้เช่นกัน
เกิดอะไรขึ้น
                เราสามารถมองเห็นลายเส้นภาพที่เป็นสีดำผ่านแผ่นใสทั้งสองสี แต่เมื่อมองผ่านแผ่นใสสีแดงเราจะมองไม่เห็นรายละเอียดของภาพที่เป็นสีแดง และถ้ามองผ่านแผ่นใสสีเขียว จะเห็นรายละเอียดของภาพเป็นสีดำ เมื่อเลื่อนพลาสติกทั้งสองสีผ่านภาพวาดไปมาอย่างรวดเร็ว จะเห็นใบหน้าคนแลบลิ้นและยิ้มสลับกัน หรือเห็นกระต่ายโผล่ออกจากหมวกและหายไปสลับกัน ถ้าเราใช้ปากกาเคมีสีเขียววาดรายละเอียดภาพ จะสังเกตเห็นภาพเคลื่อนไหวผ่านแผ่นใสสีแดงเท่านั้น แต่จะมองไม่เห็นภาพเคลื่อนไหวเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียว
คำแนะนำ
                เมื่อเด็กๆเข้าใจหลักการของภาพเคลื่อนไหวแล้ว ให้ทำการทดลองเพิ่มเติม โดยให้เด็กๆวาดภาพด้วยปากกาเคมีสีดำและวาดรายละเอียดด้วยปากกาเคมีสีแดงและสีเขียว เช่น
·       วาดปากด้วยสีดำ วาดลิ้นสีแดงและลิ้นสีเขียว
·       วาดต้นไม้ด้วยสีดำ วาดใบสีเขียวและสีแดง
·       วาดใบหน้าด้วยสีดำ วาดผมหยิกสีแดงและผมตั้งสีเขียว
·       วาดตัวผู้ชายด้วยสีดำวาดหมวกปลายแหลมให้เอียงไปทางซ้ายสีเขียว และเอียงไปทางขวาสีแดง
·       วาดใบหน้าด้วยสีดำ วาดรอยยิ้มสีแดงและร้องไห้สีเขียว
·       วาดไฟจราจรด้วยสีดำ วาดสัญญาณไฟเขียวและสัญญาณไฟแดง

จากนั้นเลื่อนแผ่นใสสีเขียวแดงไปทางแนวนอนหรือแนวตั้ง ลองทำการทดลองโดยใช้ปากกาสีและแผ่นใสสีอื่น สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น


ทำไมเป็นเช่นนั้น
                เรามองเห็นภาพที่วาดด้วยปากกาเคมีสีดำผ่านแผนใสทั้งสองสี แต่รายละเอียดของภาพที่ใช้แสดงการเคลื่อนไหวต้องวาดด้วยสีแดงหรือสีเขียวเท่านั้น เราไม่สามารถสร้างการเคลื่อนไหวจากสีทั้งสองสีพร้อมกันได้
                เมื่อวางแผ่นใสสีแดงลงบนกระดาษสีขาว จะเห็นกระดาษเป็นสีแดงถ้าวาดภาพบนกระดาษสีแดงด้วยปากกาเคมีสีแดงจะเห็นเหมือนกับว่าใช้ปากกาเคมีสีแดงวาดรูปลงบนกระดาษสีแดง สีของภาพและกระดาษเหมือนกันเราจึงมองไม่เห็นภาพที่วาด ซึ่งจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับแผ่นใสสีเขียวและปากกาเคมีสีเขียว
                จากการทดลองเรื่อง โลกของสีสัน และลวดลายพิศวงแผ่นกรองแสงจะดูดกลืนแสงสีบางส่วนไว้ โดยแผ่นกรองแสงสีแดงจะดูดกลืนแสงสีเขียว ทำให้เรามองเห็นสีเขียวเป็นสีดำเพราะไม่มีแสงสะท้อนกลับเข้าสู่ดวงตาของเรา
                แผ่นใสสีเขียวดูดกลืนแสงที่สะท้อนมาจากสีแดง ดังนั้นเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียว เราจึงเห็นสีแดงเป็นสีดำ
                สีแดงและสีเขียวเหมาะสำหรับศึกษาเรื่องการมองเห็นสี เพราะเป็นสีตรงกันข้าม เนื่องจากส่วนผสมของสีแดงและสีเขียวไม่มีส่วนที่เหมือนกัน







                                                              
บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มแรก มาทำการทดลองวิทยาศาสตร์ให้เด็กๆดู มีการทดลอง เกลือกับพริกไทย ลูกโป่งพองโต     การแยกน้ำกับน้ำมัน โดยดิฉันได้ทำหน้าที่ดูแลกลุ่ม ลูกโป่งพองโต คอยซัพพอร์ตเพื่อน และพาเด็กๆทำกิจกรรม โดยการทดลองของเพื่อน จะต้องคอยกันเด็กๆไม่ให้เข้าใกล้โต๊ะเพราะอาจมีสิ่งแปลกกระเด็นเข้าตาเด็กๆได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

              วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอการทดลองอีกครั้งก่อนจะออกทดลองให้เด็กดูจริง  แต่ละกลุ่มก็ได้มีการปรับแก้ ตามคำแนะนำที่อาจารย์บอก เช่น ควรมีผ้าปูโต๊ะในการทำกิจกรรม มีการเขียนหมายเลขที่ชัดเจนตามขวดทดลอง หรือการตกแต่งชิ้นงานให้สวยงาม ให้มีความน่าสนใจ เพิ่มเติมเข้ามาอีกคือ การนำเสนอให้มีความน่าสนใจ การใช้คำถาม หรือขั้นก่อนการทำกิจกรรม ควรมีการเก็บเด็กให้มีความสงบ
              จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนทำของเล่นวิทยาศาสตร์ ทั้งการทำภาพเคลื่อนไหว ภาพหมุนลวงตา การประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษ และออกมานำเสนอของเล่นของตนว่า เป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร เกี่ยวกับเรื่องอะไร และมีหลักการยังไง
                                                         
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

          วันนี่อาจารย์ให้ไปฟังพี่ๆที่ 5 ที่ออกไปฝึกประสบการณ์การสอนตามโรงเรียนต่างๆ มีหลายๆเอกในคณะศึกศาสตร์ที่ออก นำเสนอรายวิชาทั้งสอน ทั้งเอกพละ เอกคณิตศาสตร์และปฐมวัย มีการนำเสนอแผนการสอน เทคนิควิธีการ ในการจัดการชั้นเรียน ให้น้องๆที่เข้ามาฟังสัมนา ได้นำเทคนิควิธีการไปปรับใช้

           ในส่วนของรายวิชา การศึกษาปฐมวัย ก็ได้มีการจัดทำซุ้มการเรียนรู้ ความรู้ต่างๆ ทั้งแผนและสื่อ การสอน ฉันจึงเก็บภาพมาฝาก
                 







ก่อนแยกย้าย อาจารย์ก็ได้มอบหมายภาระที่ต้องเตรียมการทดลองไปศูนย์เด็กเล็กเสือใหญ่ โดยแบ่งไป สัปดาห์ละ 3 กลุ่ม เพื่อให้อีกสามกลุ่มคอยซัพพอร์ตเพื่อน และดูแลเด็กๆ


                
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันนี้อาจารย์สอนเรื่องแหล่งน้ำ ระดมความคิดเรื่องของประโยชน์ของน้ำ และให้ออกมานำเสนอ







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันนี้อาจารย์ให้เตรียมของที่จะทำการทดลองมาทดลองให้เพื่อนๆดูก่อนที่จะออกไปทดลองจริง

โดยกลุ่มของเพื่อนกลุ่มแรก ใช้ชื่อการทดลอง ลูกข่างหลากสี เป็นการทดลองที่สามารถประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ การเปลี่ยนภาพและสีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตาของคนเราจะไม่สามารถแยกแยะสีได้ เด็กๆ จะเห็นเป็นสีผสม กิจกรรมลูกข่างหลากสี เด็กๆ จะได้ประดิษฐ์ลูกข่างหลากสี เรียนรู้เรื่อง ความเฉื่อยของดวงตา การผสมสี รวมทั้งฝึกฝนการสังเกต


ถัดมาเป็นการทดลองกลุ่มที่สอง ชื่อการทดลองว่าภูเขาไฟลาวา เป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น จากการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างเบคกิ้งโซดา(ด่าง/เบส)และน้ำส้มสายชู(กรด)ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดันตัวออกนี้เองที่ทำให้เกิดภูเขาไฟลาวาของเรานั้นเองค่ะ



กลุ่มที่สาม เป็นการทดลองการทำปฏิกิริยากันระหว่างเบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู โดยปฏิกิริยานี้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งตัวก๊าซที่มีความเบากว่าอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น เมื่อก๊าซมากเข้า ๆ จึงดันลูกโป่งให้พองออกได้นั่นเอง



กลุ่มที่สี่ เป็นการทดลองการแยกชั้นของ กรวด น้ำ และน้ำมัน นั่นเป็นเพราะ สารที่มีความหนาเเน่นที่แตกต่างกัน ซึ่งสารที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าจะลอยอยู่เหนือสารที่มีความหนาแน่นสูงกว่า ไม่สามารถผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันได้ ดังเช่นน้ำมันที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำจึงลอยอยู่เหนือน้ำ



และกลุ่มของฉันเป็นการทดลอง เรื่องของแสงสีและการมองเห็น  เป็นการทดลองที่ใช้แผ่นกรองแสงดูดกลืนแสงสีบางส่วนไว้ โดยแผ่นกรองแสงสีแดงจะดูดกลืนแสงสีเขียว ทำให้เรามองเห็นสีเขียวเป็นสีดำ เพราไม่มีแสงสะท้อนกลับเข้าสู่ดวงตาเรา  ส่วนแผ่นใสสีเขียวดูดกลืนแสงที่สะท้อนมาจากสีแดง ดังนั้นเมื่อเรามองผ่านแผ่นใสสีเขียว เราจึงเห็นสีแดงเป็นสีดำ สีแดงและสีเขียวจึงเหมาะสำหรับศึกษาเรื่องการมองเห็นสี เพราะเป็นสีตรงข้ามกัน เนื่องจากส่วนผสมของสีแดงและสีเขียวไม่มีส่วนที่เหมือนกัน

คำแนะนำจากครูผู้สอน  ควรใช้คำถามที่เป็นคำถาม ปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิด มีการตั้ง                                            สมมุติฐาน และควรมีกระดาษชาร์ทเพื่อบอกรายละเอียดอุปกรณ์

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
ในสัปดาห์นี้ดิฉันต้องไปทำกิจกรรม จิตอาสา ของผู้กู้ กยศ จึงไม่ได้เข้าไปเรียน แต่ก็ได้ติดตามงานที่อาจารย์มอบหมายจากเพื่อน คือ อาจารย์จะกำหนดการทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยให้นักศึกษาไปพิมพ์และภายในกลุ่มให้เลือกการทดลองมาหนึ่งอย่าง และแจ้งรายละเอียดถ้าหากต้องใช้อุปกรณ์ และให้นักศึกษาเลือกการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มา 1 การทดลอง และโพสต์ลงใน blog เมื่อทราบภาระงานกลุ่มของดิฉันก็รีบไปติดต่ออาจารย์เพื่อลงมือปฏิบัติให้ทันเพื่อนกลุ่มอื่น

บรรยากาศการทำกิจกรรม


งานที่อาจารย์มอบหมาย



วิดีโอการทดลองทางวิทยาศาสตร์







สิ่งที่ได้รับคือ : การรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และการรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง
บันทึกการเรียนครั้งที่5
สัปดาห์นี้ที่คณะมีการจัดงาน ศึกษาศาสตร์วิชาการ แต่อาจารย์ได้ให้เข้ามาพูดคุยและมอบหมายงานที่นักศึกษาต้องไปทำคือ อาจารย์ให้ภายในกลุ่มเลือกว่าจะประดิษฐ์สื่ออะไรสำหรับเด็ก เมื่อเลือกได้แล้วให้นำลงpadled และมอบหมายให้ไปเตรียมตัวสำหรับการนำเสนอบทความ วิจัยและสื่อการสอน ศึกษาข้อมูลในกระทรวงวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ต้องศึกษาเรื่องอะไรบ้าง และมีทักษะใดที่ควรให้เด็กทราบ จากนั้นอาจารย์ก็ให้แยกย้ายมาเข้าร่วมงานศึกษาศาสตร์วิชาการ ซึ่งภายในงานก็จะมีการจัดนิทรรศการตามแต่ละสาขา เช่น สาขาการศึกษาปฐมวัย สาขาจิตวิทยา สาขาเทคโนโลยี และสาขาพละศึกษา โดยแต่ละสาขาก็จะมีการจัดนิทรรศกาลตามแต่ละเรื่อง เช่น ประวัติความเป็นมาของมหาลัย การทำฝนเทียม หรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้การทำกิจกรรมดูตื่นเต้นและน่าสนใจ ดิฉันก็ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกกรมด้วย และถ้าหากเล่นเกมชนะก็จะมีของรางวัลเล็กๆน้อยมอบให้ด้วย








สิ่งที่ได้รับในวันนี้
คือการได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ของแต่ละสาขา อาจจะได้รับรางวัลบ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ได้ความรู้มาจึงถือว่ามีค่าที่สุดแล้ว